สำรวจหน้างานฟรี
TP BUGS AND CCTV

ระบบสถานีเหยื่อในดิน

 

ปลวกจะทำรังในดิน ติดตั้งแล้วปรอดภัยจริงไหม

วิธีกำจัดปลวกที่ได้ผลที่สุดคือ การใช้เหยื่อกำจัดตามขั้นตอนและใช้เวลาประมาณ 60-90 วันจนรังปลวกล่มสบายไปหมด

ส่วนวิธีการป้องกันปลวกรังใหม่ปัจจุบันมีอยู่  2 วิธี คือ การป้องกันด้วยสารเคมีหรือการฉีดยาเข้าท่อใต้อาคารที่มีการวางท่อไว้ก่อนก่อสร้างหรือการฉีดยารอบๆตัวบ้านเพื่อทำให้ดินเป็นพิษให้ปลวกไม่สามารถอยู่อาศัยได้ ซึ่งวิธีการป้องกันปลวกด้วยสารเคมีสามารถป้องกันได้ประมาณ 50-60 %

สำหรับวิธีการป้องกันปลวกอีก 1 วิธีที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันคือ การป้องกันปลวกด้วยสถานีฝังดินรอบๆ ตัวบ้าน หรือ In-ground station ซึ่งวิธีนี้เป็นการป้องกันเชิงรุกโดยใช้หลักการคือเราจะวางสถานีรอบๆบ้านห่างกัน 2-3 เมตรซึ่งระยะห่างที่ดีที่สุดคือ ทุกๆ 2 เมตร จากนั้นเราจะใส่ไม้ล่อเข้าไปในสถานีแล้วเราจะเปิดตรวจสถานีทุกๆ 30  วัน เพื่อดูว่าปลวกมากินไม้หรือไม่หรือไม้ผุจนต้องเปลี่ยนหรือไม่ และเมื่อเราพบว่าปลวกเข้ามากินไม้ในสถานีแล้วเราถึงจะเติมเหยื่อกำจัด( ซองเหลือง+ซองใส ) ลงไปในสถานี โดยการผสมน้ำตามอัตราส่วนแล้วเติมลงไปให้เต็ม แล้วปลวกนี้ก็จะนำเหยื่อนี้กลับไปยังรังทันที ซึ่งถือว่าเป็นการป้องกันเชิงรุก และเรายังสามารถทราบได้ว่าปลวกที่เข้ามาสถานีบ่อยครั้งนั้นมาจากทิศทางใดของบ้าน ซึ่งจะเราได้หาสาเหตต่อไปได้

แต่การป้องกันปลวกด้วยสถานีฝังดินนั้นทำได้แค่ 50-70 เท่านั้น ยิ่งวางสถานีห่างโอกาสจะดักจับปลวกได้ก็ยิ่งน้อยลง หรือถ้านำไปวางแค่ 1 สถานี เพื่อสุ่มโอกาสยิ่งน้อยลงมากที่สุด

และนอกเหนือจากเรื่องดังกล่าวแล้วยังมีอีกหลายอย่างที่เป็นข้อจำกัดของการวางสถานีฝังดินรอบบ้านดังนี้

  1. การวางสถานีรอบบ้านเราจะต้องใช้เหยื่อกำจัด (ซองเหลือง+ซองใส ) ในปริมาณที่มากกว่าการกำจัดปลวกในบ้านหากบ้านหลังนั้นไม่อยู่ในเขตตัวเมืองเพราะเมื่อเราวางสถานีฝังดินแล้วล่อด้วยไม้แล้วนั้น ปลวกที่จะเข้ามาใสถานีจะไม่ใช่ปลวกชนิดเป้าหมายหรือปลวกชนิดที่กินบ้านเสมอไป แต่ปลวกชนิดอื่นๆหรือปลวกสวนที่กินไม้เป็นอาหารก็จะเข้ามากินไม้ในสถานีด้วย ซึ่งเราอาจจะไม่ทราบชนิดทำให้เราต้องเติมเหยื่อทุกครั้งที่พบปลวกในสถานีและการวางป้องกันทุกๆ 2 เมตรต้องมีหลายสถานีหากปลวกเข้าหลายสถานีเราก็ต้องใช้เหยื่อกำจัดมากขึ้นไปด้วยนั่นเอง  แต่หากบ้านหลังนั้นอยู่ในเขตตัวเมืองโออาสที่จะพบปลวกสวนหรือปลวกที่ไม่อันตรายต่อบ้านจะน้อยมากทำให้การป้องกันด้วยวิธีนี้สามารถทำได้ค่อนข้างดี
  2. ปลวกที่กินเหยื่อในสถานีฝังดินจะไม่เป็นไปตามขั้นตอนเหมือนปลวกที่กินเหยื่อในกล่องสถานีที่ถูกติดตั้งภายในบ้าน เหตุผลเพราะสถานีฝังดินถูกติดตั้งอยู่นอกอาคารซึ่งมีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้อยู่หลายอย่างเช่น แดดหรือฝนดังนั้นเราอาจพบว่าการกินเหยื่อของปลวกอาจจะไม่เหมือนที่เราเคยเห็นมาเช่น ถ้าเราเติมเหยื่อในสถานีฝังดินให้ปลวกกินแล้วต่อมามีฝนตก ปลวกที่เคยกินเหยื่อในสถานีฝังดินจะหายไปเฉยๆ เป็นต้น ซึ่งอาจต้องใช้เวลาสักพักกว่าปลวกจะกลับมา ดังนั้นเราต้องเข้าใจถึงบริบทดังกล่าวก่อนการวางสถานีฝังดินรอบๆบ้าน
  3. การวางสถานีฝังดินรอบตัวบ้าน ถึงแม้เราจะวางอย่างถูกต้องหรือระยะห่างถูกต้องแต่มันก็ไม่สามารถป้องกันปลวกได้ 100%ยังไงปลวกก็มีโอกาสเข้าบ้านได้  แน่คือกฎสำคัญที่เราจะต้องใจไว้ก่อนพียงแต่การวางสถานีฝังดินอย่างถูกต้องที่สุดจะช่วยลดโอกาสที่ปลวกรังใหม่จะเข้าไปทำลายได้มากที่สุดนั่นเอง

ภาพ การวางสถานี ดิน หรือสถานีป้องกันปลวกด้วยระบบสถานีรอบบ้าน